Page 56 - คู่มือการฝึก ว่าด้วยแบบฝึกท่ากระบี่ และ การปฏิบัติของผู้อัญเชิญธงชัยเฉลิมพล
P. 56
ท่านั่งคุกเข่าวันทยหัตถ์
๑.เรื่องที่จะท าการฝึก : การใช้กระบี่ส าหรับนายทหาร “ท่านั่งคุกเข่าวันทยหัตถ์”
๒.ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของ
หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓.ประโยชน์ : ใช้ในโอกาสปฏิบัติหน้าที่รักษาการณ์และยามถวายพระเกียรติ กรณีเมื่อพระมหากษัตริย์หรือ
พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์เสด็จฯ ผ่านในระยะใกล้
๔.ค าบอก : เป็นค าบอก “เป็นค าๆ” ใช้ค าบอก “นั่งคุกเข่า, ท า”
๕.การปฏิบัติ : ท่านั่งคุกเข่าวันทยหัตถ์จะปฏิบัติต่อจากท่าวันทยหัตถ์
รูปที่หนึ่ง รูปที่สอง
“นั่งคุกเข่า, ท า”
จังหวะหนึ่ง จังหวะสอง จังหวะสาม
จังหวะหนึ่ง : เมื่อได้ยินค าบอก “นั่งคุกเข่าจังหวะ - หนึ่ง” ให้ผู้ปฏิบัติดึงเท้าซ้ายไปด้านหลังเล็กน้อย
โดยไม่เสียลักษณะท่าทาง ส้นเท้าซ้ายเปิด หักข้อมือซ้ายไปด้านหลังเพื่อให้ฝักกระบี่เฉียงไปด้านหลังขนานกับขาซ้าย
ท่อนล่าง มือซ้ายยังคงจับฝักกระบี่ในลักษณะคีบเช่นเดิม มือขวาปฏิบัติท่าวันทยหัตถ์ สายตามองตรงไปด้านหน้า
ในแนวระดับ ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติท่าแลขวาหรือแลซ้ายอยู่ ให้สะบัดหน้ามองตรงก่อนปฏิบัติจังหวะหนึ่ง
จังหวะสอง : เมื่อได้ยินค าบอก “นั่งคุกเข่าจังหวะ - สอง” ให้ผู้ปฏิบัติดึงเท้าซ้ายไปด้านหลังอีกเล็กน้อย ค าบอก “เป็นค าๆ”
เพื่อสะดวกต่อการนั่งคุกเข่า แล้วคุกเข่าซ้ายลงให้ขาขวาท่อนบนและล่างตั้งฉากกัน แขนซ้ายเหยียดตึงข้างขาซ้าย
ท่อนบน มือซ้ายยังคงจับฝักกระบี่ในลักษณะคีบ ปลายฝักกระบี่วางบนพื้นบริเวณหลังแนวเท้าทั้งสองข้าง มือขวา
ปฏิบัติท่าวันทยหัตถ์ ล าตัวตั้งตรง สายตามองตรงไปด้านหน้าในแนวระดับ
จังหวะสาม : เมื่อได้ยินค าบอก “นั่งคุกเข่าจังหวะ - สาม” ให้ผู้ปฏิบัติท่ายกอกจากนั้นสะบัดหน้าไปในทิศทางที่
พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯ ส่วนอื่นๆ ของร่างกายอยู่ในลักษณะเดิม
หมายเหตุ : เมื่อผู้ปฏิบัติอยู่ในท่านั่งคุกเข่าวันทยหัตถ์ สามารถปฏิบัติในท่าแลขวาและแลซ้าย ได้โดยการปฏิบัติท่ายกอก ท่านั่งคุกเข่าวันทยหัตถ์
และสะบัดหน้าไปในทิศทางที่พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯ
โรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ๓๗
หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์