Page 101 - คู่มือการฝึก ว่าด้วยแบบฝึกท่ากระบี่ และ การปฏิบัติของผู้อัญเชิญธงชัยเฉลิมพล
P. 101

ภาคผนวก






                                                                  การที่พระรุ่งได้ศรโบราณนี้ สอบสวนได้ความว่า เดิมเจ้า
                                                         อธิการรุ่ง วัดหนองนานวลท้องที่ กิ่งอ าเภอพยุคีรี คุมคนกับช้างไป
                                                         ตั้งตัดไม้อยู่ในดงหนองคันไถครั้นเมื่อ วันอังคาร เดือนยี่ แรม ๓ ค่ า

                                                         ตรงกับวันที่ ๑๗ มกราคม ร.ศ.๑๒๙ อธิการรุ่งให้นายตี่กับเด็กแบน
                                                         ซึ่งเป็นศิษย์ไปเที่ยวหาใบตองกล้วยป่ามาม้วนบุหรี่ นายตี่กับเด็กแบน

                                                         ซึ่งเป็นศิษย์ไปเที่ยวหาใบตองบนเขาชอนเดื่อ ถึงไหล่เขามีศิลา
                                                         ๒ ก้อนอยู่เคียงกัน นายตี่แลเห็นศีรษะนาคโผล่จากใบไม้ที่ร่วงสะสม
                                                         อยู่ในซอกศิลา ส าคัญว่าพระพุทธรูปจึงหยิบยกขึ้นมา เห็นเป็นศร
                      ภาพธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย
                                                         ทั้งคัน เด็กแบนค้นที่


            ซอกศิลาต่อไปได้ลูกศรอีกลูกหนึ่ง จึงน ามาถวายอธิการรุ่งอาจารย์ในเวลานั้นขุนวิจารณ์พยุหพล ปลัดว่าการกิ่งอ าเภอตาคลี
            ก าลังเดินทางตรวจราชการ ได้ข่าวเรื่องศรนี้จึงไปขอดูแล้วรายงานขึ้นไปยังมณฑลนครสวรรค์ พระยาศิริชัยบุรินทร์ (ศุข)

            ข้าหลวงเทศาภิบาล ส าเร็จราชการมณฑลนครสวรรค์ จึงได้พาอธิการรุ่งกับนายตี่เด็กแบนพร้อมด้วยศรเข้ายังกรุงเทพฯ
            เพื่อจะทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
                     ส่วนกระบี่ธุชพระครุฑพ่าห์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุ

            วัตติวงศ์ ทรงติดเครื่องประกอบและท าเป็นธงพระกระบี่ธุชพระครุฑพ่าห์น้อยขึ้นนั้น ธงพระกระบี่ธุชพื้นแดงเขียนรูป
            กระบี่ขาว ธงพระครุฑพ่าห์สีเหลืองเขียนรูปครุฑสีแดง ภายในธงแนบผ้าขาวลงยันต์และอักษรตามแบบธงพระกระบี่ธุช

            พระครุฑพ่าห์ของเดิม ซึ่งพระครูสุทธธรรมสมาจาร วัดประดู่ได้ท าพิธีลงยันต์และอักษรที่วัดตูม ณ กรุงเทพทวาราดีศรีอยุธยา
            คันธงไม้ไชยพฤกษ์ยอดหอกคร่ าทอง กาบธงผูกหางนกยูงเป็นรูปแพนสอดลงในแผ่นธงพระกระบี่ธุช พระครุฑพ่าห์ของโบราณ
            นั้นเหมือนกันทั้งคู่
                                                         ครั้นเสด็จฯ จากพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์แล้ว ทรงพระกรุณา
                                                         โปรดเกล้าฯ ให้เชิญธงพระกระบี่ธุชพระครุฑพ่าห์นั้นไปถวายพระเจ้า

                                                         บรมวงศ์เธอกรมพระยาชิรญาณวโรรส ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อจะ
                                                         ได้จารึกคาถาบนแผ่นสัมฤทธิ์ด้านหลังรูปพระกระบี่ธุช พระครุฑพ่าห์

                                                         ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา
                                                         โปรดเกล้าฯ ให้ราชองค์รักษ์ เชิญธงพระกระบี่ธุช และพระครุฑพ่าห์
                                                         น้อย น าเสด็จพระราชด าเนินในกระบวนราบ ทหารบกเชิญธง

                                                         ธงพระกระบี่ธุชไปทางขวา ทหารเรือเชิญธงพระครุฑพ่าห์น้อย
                                                         ไปทางซ้าย แต่ถ้าเสด็จฯ เป็นกระบวนการรถม้า ให้ราชองค์รักษ์
                       ภาพธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย
                                                         ทหารบกเชิญทั้ง ๒ นาย
                     จนถึง พ.ศ.๒๔๗๒ ในรัชการพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงวังได้กราบบังคมทูลเรียนพระราช

            ปฏิบัติระเบียบการเชิญธง โดยอ้างว่าสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ประทานพระกระแสว่า ธงพระกระบี่ธุชควร
            อยู่ซ้าย ธงพระครุฑพ่าห์น้อยควรอยู่ขวา โดยถือหลักประเพณีเดิม ซึ่งปรากฏอยู่ในตอนที่หนึ่งของโคลงพระราชพิธี

            ทวาทศมาศ เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการ
            โปรดเกล้าฯ ว่าเมื่อได้ความแน่ชัดถึงประเพณีเดิมแล้วก็ให้เปลี่ยนเสียให้ถูก กระทรวงวังจึงถือเป็นหลักสืบมา และเรียกว่า
            ธงชัยราชกระบี่ยุทธ และธงชัยพระครุฑพ่าห์






        โรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
         หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106