Page 97 - คู่มือการฝึก ว่าด้วยแบบฝึกท่ากระบี่ และ การปฏิบัติของผู้อัญเชิญธงชัยเฉลิมพล
P. 97

ภาคผนวก




                                               หมวดธงประจ ากอง

















                                                    ธงชัยเฉลิมพลในรัชกาลที่ ๕


               สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม พ.ศ.๒๔๓๔ (ร.ศ.๑๑๐) เป็นธงพื้นสีต่างๆ

           ตามแต่ทหารจะเห็นสมควร ที่มุมธงข้างบนมีแพรแดงเป็นรูปธงโตหนึ่งในหกส่วนของธงใหญ่ มีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น
           ที่พื้นธงนอกจากธงช้างที่มุมมีตราส าหรับกองทหารนั้น เป็นธงส าหรับใช้เมื่อมีการรับเสด็จในเวลามีพระราชพิธีใหญ่ส าหรับ
           เกียรติยศตามที่จะโปรดเกล้าฯ ให้รับและใช้เมื่อกองทหารจะไปปราบศัตรูก็ใช้ธงนี้ไปในกองทัพด้วย ธงนี้ใช้มาจนถึง

           พ.ศ.๒๔๔๐ จึงเลิกโดยพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๖ การยกเลิกธงชัยเฉลิมพลครั้งนี้มิได้หมายความว่าเลิกใช้ธงเฉลิม
           พลโดยสิ้นเชิง เพียงแต่เลิกแบบธงชัยเฉลิมพลที่ใช้ใน พ.ศ.๒๔๓๔ เท่านั้น กองทหารทั้ง ๓ เหล่าทัพของไทย สมัยต่อมามีธงชัย

           เฉลิมพลประจ ากองตน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะเสด็จพระราชด าเนินทรงตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพล
           และบรรจุเส้นพระเจ้า ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระราชทานธงให้แก่กองทหารที่มีอัตราก าลังพลตั้งแต่
           กองพันขึ้นไปที่ยังไม่มีธงในโอกาสอันสมควร มีประเพณีของทหารใหม่ที่จะต้องท าพิธีกระท าสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพลของ

           กองทหารที่ตนประจ าราชการอยู่ และในวันที่ ๒๕ มกราคม ซึ่งเป็นวันกองทัพไทย จะมีพิธีกระท าสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัย
           เฉลิมพลของกองทหารทั้ง ๓ เหล่าทัพเป็นประจ าทุกปี ลักษณะของธงชัยเฉลิมพลมีก าหนดไว้ใน พระราชบัญญัติธง
           แต่เรียกชื่อว่าธงประจ ากองทัพบก ธงประจ ากองทหารเรื่อง ธงประจ ากองทหารอากาศ ขอให้ดูรายละเอียดในหัวข้อนั้นๆ

















                                                 ธงประจ ากองทหารบก พ.ศ.๒๔๓๕

               ถึงรัชกาลที่ ๕ โปรดให้เปลี่ยนธงส าหรับพระองค์ใหม่ ใช้ธงพื้นนอกสีแดงพื้นในสีขาบ กลางเป็นรูปโล่ตราแผ่นดิน
           มีจักรและตรีไขว้กันอยู่บนโล่ มหาพิชัยมงกุฎอยู่บนจักรี มีเครื่องสูง ๗ ชั้น ๒ ข้าง ดังกล่าวมาแล้วในหมวดธงประจ าพระองค์

           แทน ส่วนธงประจ าแผ่นดินคงใช้ไอยราพตอย่างรัชกาลที่ ๔ ต่อมา พ.ศ.๒๔๓๒ โปรดให้เปลี่ยนตราธงประจ ากองทหารบก
           ต่างๆ ที่ใช้อยู่ในเวลานั้นเป็นธงตราแผ่นดินบนพื้นผ้าแดง ได้พระราชทานแก่กองทหารเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๕ คือกองทหารม้าใน
           (ม้าหลวง) กองทหารปืนใหญ่นอก (ปืนใหญ่หลวง) กองทหารราบในมหาดเล็ก กองทหารราบนอกรักษาพระองค์ กองทหารราบ

           นอกล้อมวัง กองทหารราบนอกฝีพาย รวม ๖ กอง







        โรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
         หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102