Page 96 - คู่มือการฝึก ว่าด้วยแบบฝึกท่ากระบี่ และ การปฏิบัติของผู้อัญเชิญธงชัยเฉลิมพล
P. 96

ภาคผนวก






                 ธงชัยเฉลิมพล ได้เข้าประกอบพิธีส าคัญทางศาสนา ในพระราชพิธีตรึงหมุด ธงชัยเฉลิมพล โดยองค์พระมหากษัตริย์
             ทรงประกอบพิธีนี้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ท่ามกลางพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ชั้นผู้ใหญ่ พระมหากษัตริย์ทรง
             ตรึงธงแต่ละผืนติดกับด้ามธง โดยทรงตอกค้อนเงินลงบนตะปูทองเหลืองอย่างแน่น ธงหนึ่งมีรูตะปูประมาณ ๓๒ - ๓๕ ตัว

             ที่ส่วนบนของคันธง จะมีลักษณะเป็นปุ่มโลหะกลึงกลมสีทองภายในกลวง ปุ่มกลมนั้นท าเป็น ฝาเกลียวปิด - เปิดได้
                 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะทรงบรรจุเส้นพระเจ้า พร้อมด้วยพระพุทธรูปที่ได้เข้าพิธีพุทธาภิเษกแล้ว

             ชื่อพระยอดธงลงในปุ่มกลมแล้วทรงปิดฝาเกลียวขันแน่น ทรงเจิมแป้งกระแจะจันทน์ที่ยอดธงทุกคัน พระสงฆ์สวดชัยมงคล
             คาถา ตั้งแต่เริ่มพิธีจนจบพิธี
                 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะทรงกระท าพิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพลให้กับหน่วยทหารต่างๆ ทุกกรมกอง

             ทหาร ทุกคนระลึกอยู่เสมอว่าธงชัยเฉลิมพลจะปลิวสะบัดอย่างสง่างาม เป็นมิ่งขวัญของพสกนิกรชาวไทยตลอดไป
             ตราบเท่าที่ประเทศไทยด ารงคงความเป็นเอกราชอยู่ได้ เป็นหน้าที่ของทหารที่จะต้องระวังรักษาธงชัยเฉลิมพลไว้ด้วยความ

             เคารพรักและเทิดทูนไว้อย่างสูงยิ่ง เพราะธงชัยเฉลิมพลย่อมเป็นเกียรติยศของหน่วยทหารนั้นๆ เมื่อเวลาเข้าสู่สงคราม
             ทหารทั้งปวง ต้องพิทักษ์รักษาธงชัยเฉลิมพลของหน่วยตนไว้ด้วยชีวิต ธงชัยเฉลิมพลจึงเป็นเครื่องน าความองอาจ กล้าหาญ
             แห่งหมู่ทหารทั้งปวง ให้เข้าต่อสู้ข้าศึกศัตรูให้ได้ชัยชนะกลับมา




































                 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานธงชัยเฉลิมพลประจ ากองทหาร

             ที่ใช้ในสงครามต่างๆ และหน่วยทหารที่ได้รับพระราชทานน าไปเป็นมิ่งขวัญแก่เหล่าทหารหาญในสมรภูมินั้นๆ มีดังนี้
                 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๑ จ านวน ๒ ธง

             เพื่อใช้ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ พระราชทานแก่กองทหารบกรถยนต์ และกองบินทหารบกของไทย ที่ส่งไปร่วมรบ
             กับฝ่ายสัมพันธมิตร ในทวีปยุโรป ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี
             พ.ศ.๒๔๘๓ เพื่อใช้ในสงครามกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
             ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพระราชทานแก่หน่วยทหารไทยในสงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม








                                                                                          โรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
                                                                                           หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101